แหล่งท่องเที่ยวในประเทศอินโดนีเซีย

  สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศอินโดนีเซีย        

              เกาะบาหลี
              บาหลีเป็นเกาะเกาะหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความสวยงามด้วยธรรมชาติที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวกับวัฒนธรรมที่ไม่ เหมือนใคร ซึ่งได้สืบทอดต่อกันมาเป็นเวลานับพันปี มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก เช่น วัดและวัง ซึ่งมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ชายหาดที่สวยงามและขาวสะอาด รวมทั้งผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และการดำเนินชีวิตของคนบาหลีด้วยวิธีการกสิกรรมแบบดั้งเดิม บาหลีกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทั่วโลกรู้จัก
 


                ภูเขาไฟคินตามานี
ภูเขาไฟคินตามานี เป็นภูเขาไฟที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 บนเกาะบาหลี ในอดีตที่ผ่านมา ภูเขาไฟคินตามานีเคยเกิดการระเบิด ได้พ่นลาวาทำความเสียหายนับพันชีวิต และทรัพย์สินให้แก่ชาวบาหลีไปไม่น้อย ปัจจุบันภูเขาไฟคินตามานี กลับเป็นจุดดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวอย่างมาก
ภูเขาไฟคินตามานแห่งนี้ ตามภาษาราชการเรียกว่า Mount Batur มีความสูง 1,171 เมตรอยู่ติดกับทะเลสาป มีชื่อว่า Batur เหมือนกันกับชื่อภูเขาไฟ มีพื้นที่ประมาณ 16.07 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นทะเลสาป ที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะแห่งนี้
คินตามานีเพี้ยนมาจาก ชื่อของหญิงชาวจีนที่ชื่อ คังฉีหมิง ที่แต่งงานกับเจ้าชายบาหลี เพื่อเป็นการระลึกถึงเธอ ชื่อเธอจึงถูกตั้งเป็นชื่อภูเขา ปัจจุบันนี้ยังสามารถมองเห็นเถ้าสีดำที่เหลืออยู่ ซึ่งแสดงถึง ร่องรอยการระเบิด ในอดีตทะเลสาป Batur เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญต่อการเกษตร และแหล่งเลี้ยงปลาน้ำจืด


 

                วังสุลต่าน
วังสุลต่าน พระราชวังอันสวยสดงดงามของกษัตริย์ องค์แรกจนกระทั่งองค์ปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยสิ่งของล้ำค่า และเครื่องใช้ต่างๆ ของกษัตริย์ ก่อนที่กษัตริย์องค์สุดท้ายจะลี้ภัย และเปลี่ยนการปกครอง อีกทั้งวังเมกะลังและเครื่องบรรณาการต่างๆ ห้องเก็บโบราณวัตถุ สิ่งล้ำค่าสมัยก่อนประวัติต่างๆ ที่มีความเป็นมาน่าศึกษา และมีค่าของอารยะธรรมชวา
ภูเขาไฟโบรโม (Gunung Bromo)

ภูเขาไฟโบรโมเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับสนิท หนึ่งในภูเขาไฟหลายๆ ลูกของเทือกเขาTengger ที่ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Bromo-Tengger-Semeru เมืองสุราบายา มีความสูงถึง 2,329เมตร แต่ก็ยังไม่ใช่จุดที่สูงที่สุดของเทือกเขาแห่งนี้
ภูเขาไฟโบรโมเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยว ที่มาดื่มด่ำบรรยากาศ และความงามของภูเขาไฟโบรโม ซึ่งสามารถเข้าไปถึงปากปล่องภูเขาไฟโบรโมได้ง่ายที่สุดกว่าภูเขาไฟลูกใกล้เคียงอื่นๆ เนื่องจากเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ จึงมีควันครุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ภูเขาไฟโบรโมได้รับสมยานามว่า "ลมหายใจเทพเจ้า"
กลุ่มควันจากภูเขาไฟโบรโมที่ล่องลอยจากปล่องด้านบนที่เป็นแอ่งกว้างคล้ายหลุม ทำให้ตัวภูเขาไฟโบรโมที่มีสัณฐานป้านเตี้ยดูคลุมเครือ กลายเป็นภาพประกอบด้านหลังให้กับภูเขาไฟบาตอก (Mount Batokที่ตั้งอยู่ด้านหน้า รูปทรงของภูเขาไฟบาตอกสมมาตร พูนสูงขึ้น มีรอยจีบย่นรอบ ๆ อันเกิดจากลาวาที่ไหลออกมายามปะทุระเบิด ทำให้แปลกตากว่าภูเขาทั่วไป ภูเขาไฟโบรโมมีสีเขียวอ่อนที่เกิดจากพันธุ์ไม้ที่ขึ้นปกคลุม ทำให้ภูเขาไฟบาตอกดูมีชีวิตชีวา อ่อนเยาว์ ท่ามกลางความหม่นเทาของผืนทรายและกลุ่มควัน ด้านหน้าบริเวณตีนภูเขาไฟโบรโม วัดฮินดูสีเข้มตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว… ขับเน้นให้ภาพที่เห็นเบื้องหน้าคล้ายดินแดนแห่งเทพเจ้า
 

              บุโรพุทโธ (Borobudur)
               ประวัติบุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร บุโรพุทโธเป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าบุโรพุทโธสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้งด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั่งลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้นสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

 ลักษณะและสถาปัตยกรรมบุโรพุทโธ
เชื่อกันว่าแผนผังของบุโรพุทโธคงหมายถึง จักรวาล” และอำนาจของ พระอาทิพุทธเจ้า” ได้แก่พระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงโดยสถูปที่บนยอดสุดก็ได้แผ่ไปทั่วทั้งจักรวาล ซึ่งจักรวาลนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือชั้นบนสุดได้แก่ อรุปธาตุ” ชั้นรองลงมาคือ รูปธาตุ” และชั้นต่ำสุดคือ กามธาตุ” พระอาทิพุทธเจ้าในพุทธศาสนาลัทธิมหายานเองก็ทรงมี ๓ รูป (ตรีกาย) เพื่อให้ตรงกับธาตุ ทั้งสามนี้” “ธรรมกาย” ตรงกับ อรูปธาตุ” ส่วน สัมโภคกาย” (ประกอบด้วยพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์) ตรงกับ รูปธาตุ” และนิรมานกาย” (ประกอบด้วยพระมนุษยพุทธเจ้า) สำหรับ กามธาตุธรรมกาย” ที่ตรงกับ อรูปธาตุ” นั้นไม่มีภาพสลักตกแต่งแต่ก็มี เจดีย์ทึบ” ล้อมรอบไว้โดยเจดีย์ทึบเจาะเป็นรูโปร่งสามแถวและมี พระพุทธรูปนั่งปางปฐมเทศนา” อยู่ภายใน (ยังถกเถียงกันคือ บางท่านก็ว่าเป็น พระธยานิพุทธไวโรจนะ” แต่บางท่านก็ว่าเป็น พระโพธิสัตว์วัชรสัตว์” ประจำองค์พระอาทิพุทธเจ้า) ส่วนฐานที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นได้แก่ รูปธาตุ” ที่พระอาทิพุทธเจ้าได้สำแดงพระองค์ออกมาเป็นพระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์” คือ พระอักโษภวะปางมารวิชัยทางทิศตะวันออกพระรัตนสัมภวะปางประทานพรทางทิศใต้พระอมิตาภะปางสมาธิทางทิศตะวันตก” และ พระอโมฆาสิทธะปางประทานอภัยทางทิศเหนือ” ส่วนองค์ที่ห้านี้อยู่เหนือผนังฐานยอดสุดยังเป็นปัญหาเพราะทรงแสดง ปางแสดงธรรม” (วิตรรกะ) ที่บางท่านเชื่อว่าเป็น พระธยานิพุทธเจ้า” องค์สูงสุดคือ พระไวโรจนะ” แต่พระไวโรจนะโดยปกติทรงแสดงปาง ประทานปฐมเทศนา” ก็เลยมีบางท่านเชื่อว่าพระพุทธรูปที่ทรงแสดงปาง ปางวิตรรกะ” บนฐานชั้นยอดสุดหมายถึง พระสมันตภัทรโพธิสัตว์” เพราะ พระพุทธศาสนา” ลัทธิมหายานนิกาย โยคาจารย์” ได้ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเสมอเหมือน พระธยานิพุทธเจ้า” อีกพระองค์อีกทั้งภาพสลักบนผนังระเบียงชั้นที่สี่ก็เกี่ยวกับคัมภีร์ คัณฑพยุหะ” และ ภัทรจารี” ที่ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเป็น พระธยานิพุทธเจ้า” ส่วน พระธยานิพุทธไวโรจนะ” ก็คือพระพุทธรูปนั่งประทานปฐมเทศนาในเจดีย์รายสามแถวนั่นเองและ พระธยานิพุทธเจ้า” อีกสี่พระองค์คือ พระอักโษภยะรัตนสัมภวะอมิตาภะอโมฆสิทธะ” จึงประดิษฐานอยู่ในซุ้มเหนือฐานชั้นที่ ๑-๔ แต่ละทิศตามลำดับ แต่บางท่านก็เชื่ออีกว่าพระพุทธรูปในซุ้มบนยอดฐานชั้นที่ ๑ หมายถึง พระมนุษยพุทธเจ้าสี่พระองค์” เพราะตรงกับกามธาตุได้แก่ พระโกนาคมทางทิศตะวันออกพระกัสสปะทางทิศใต้พระศรีศากยมุนีทางทิศตะวันตกพระศรีอาริยเมตไตรยทางทิศเหนือ” ด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้มากระทำประทักษิณโดยเดินเวียนขวารอบ บุโรพุทโธ” ขึ้นไปแต่ละชั้นก็จะพ้นจากกามธาตุขึ้นไปยังรูปธาตุและอรูปธาตุตามลำดับโดย พระพุทธรูป” ในซุ้มเหนือฐานห้าชั้นมีทั้งหมด๔๓๒ องค์” ถ้านับรวมพระพุทธรูปในเจดีย์รายอีก ๗๒ องค์” ก็มีจำนวนทั้งสิ้น ๕๐๔ องค์พระเจดีย์องค์ใหญ่” ที่อยู่บนยอดสูงสุดของ บุโรพุทโธ” ก็คือสัญลักษณ์แทนองค์ พระอาทิพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า สูงสุด” ในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ส่วน สถูปเจดีย์” ที่มีรูปทรงโอ่งคว่ำเป็นแบบทึบนั้นก็คือสัญลักษณ์ของ อรูปธาตุ” (ไม่ปรากฏร่างกาย) และเป็นเพียงสัญลักษณ์พระสถูปเจดีย์ดังกล่าวอันเป็นพลังสากลทั่วไปที่แผ่ไปทั่ว วสกลจักรวาล” ซึ่งก็คือพุทธานุภาพพุทธบารมีแห่งองค์ พระอาทิพุทธเจ้า” (อาทิหมายถึงต้นกำเนิดของสรรพสิ่งบนโลก) พระอาทิพุทธเจ้า” ทรง นิรมานกาย” (แบ่งพระวรกาย) ออกได้เป็นสามรูปที่เรียกว่า ตรีกาย” อันได้แก่ ธรรมกาย” คือเป็นอรูปธาตุ สัมโภคกาย” ก็คือ การเนรมิตกาย” ออกมาเป็น พระธยานิพุทธเจ้า” และ พระโพธิสัตว์” ผู้เป็นบริวารของพระองค์อันเป็นรูปธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า นิรมานกาย” ก็คือการเนรมิตกายของ พระธยานิพุทธเจ้าออกมาเป็น พระมานุษิพุทธเจ้า” อีกขั้นตอนหนึ่ง (เป็นกายขั้นที่สาม) อันเป็นกามธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า
                  ส่วน ธรรมกาย” หรือ อรูปธาตุ” ของพระอาทิพุทธเจ้าได้ถูกกำหนดสัญลักษณ์ออกมาเป็น พระสถูปเจดีย์ทรงโอ่งคว่ำทึบ” ขนาดใหญ่องค์เดียวที่ถือเป็น ศูนย์กลางของบุโรพุทโธ” ประดิษฐานอยู่บนลานชั้นยอดอันเป็นชั้นบนสุดของบุโรพุทโธ โดยไม่มีภาพสลักตกแต่งรายละเอียดใด ๆ และถัดออกมาเป็น พระสถูปเจดีย์เจาะสลักเป็นรูโปร่งสามแถว” ที่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแสดงปางปฐมเทศนา (จีบนิ้วพระหัตถ์) โดยมีพระสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปประดิษฐานภายในทั้งหมด ๗๒ องค์” และแบ่งออกเป็นแถวชั้นใน ๑๖ องค์ แถวชั้นกลาง ๒๔ องค์ และแถวชั้นนอก ๓๒ องค์ ทางด้านฐานของพุทธศาสนสถานบุโรพุทโธที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นเป็นสัญลักษณ์ของ รูปธาตุ” หรือ สัมโภคกาย” ที่ พระอาทิพุทธเจ้า” ทรงเนรมิตกายของพระองค์ออกมาเป็น พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์” คือ พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้าปางมารวิชัย” ประดิษฐานทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธ พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้าปางประทานพร” ประดิษฐานทางทิศใต้ พระอมิตาภะธยานิพุทธเจ้าปางสมาธิ” ประดิษฐานทางทิศตะวันตก พระอโมฆสิทธิธยานิพุทธเจ้าปางประทานอภัย” ประดิษฐานทางทิศเหนือและ พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้าปางแสดงธรรมประดิษฐานอยู่เหนือผนังชั้นยอดบนสุด
และในชั้นที่ ๑ มี พระพุทธรูป” ประดิษฐานในซุ้มบนยอดฐานเป็นพระพุทธรูปของพระมานุษิพุทธเจ้า” ซึ่งอยู่ในระดับ กามธาตุ” หรือระดับของ โลกมนุษย์” ที่ พระอาทิพระพุทธเจ้า” คือพระพุทธเจ้าที่สูงสุดในคติของ พระพุทธศาสนานิกายมหายาน” ได้นิรมานกายคือการ แบ่งภาค” ของพระองค์ออกมาเป็นพระอาทิพระพุทธเจ้าโดยใน ภัทรกัปป์” นี้ทรงแบ่งภาคออกมาเป็น พระธยานิพุทธเจ้า ๕ พระองค์” ด้วยกันคือ ๑. พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธและพระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้านี้ทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น พระมานุษิพุทธเจ้า” ที่ทรงพระนามว่า พระกกุสันโธพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน พุทธันดรที่ ๑” ในภัทรกัปป์ ๒. พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศใต้ของบุโรพุทโธที่ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า พระโกนาดมน์พุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน พุทธันดรที่ ๒” ในภัทรกัปป์ ๓. พระอโมฆะสิทธิ์ธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศเหนือของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น พระมานิษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า พระกัสสปะพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน พุทธันดรที่๓” ในภัทรกัปป์ ๔. พระอมิตภะธยานิพุทธเจ้า” ประจำอยู่ทางทิศตะวันตกของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า พระศากยมุนี” ซึ่งเป็น พุทธันดรที่ ๔” หรือพระพุทธเจ้า องค์ปัจจุบัน” ของภัทรกัปป์ ๕. พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ตรงกลางเหนือผนังชั้นบนยอดสุดของชั้นที่ ๕ ของบุโรพุทโธ (เปรียบได้กับการเป็นภาคกลางหรือทิศภาคกลาง) ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น พระมานุษิพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า พระเมตไตรยพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า องค์สุดท้าย” เป็น พุทธันดรที่ ๕” ในภัทรกัปป์และเป็น พระอนาคตพุทธเจ้า” ที่ยังไม่มาตรัสรู้เพราะศาสนาของ พระศากยมุนีพุทธเจ้า” (พุทธันดรที่ ๔) ยังไม่อันตรธานหายไปจากโลกนั่นเอง
 ฐานชั้นล่างสุดซึ่งเป็นฐานชั้นที่ ๑ ของ บุโรพุทโธ” จะมีภาพสลักทั้งหมด ๑๖๐ ภาพโดยทุกภาพจะเป็นการเล่าเรื่องราวตาม คัมภีร์ธรรมวิวังค์” ว่าด้วยเรื่อง กฎแห่งกรรม” ซึ่งก็คือเรื่องของ บาป บุญ คุณ โทษ” นั่นเองแต่ต่อมาภาพเหล่านี้ถูกลานประทักษิณขนาดใหญ่ (ลานที่เดินเวียนขวาตามพุทธสถาน) ทับถมไว้กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ นักโบราณคดีชาวฮอลันดา” ได้ค้นพบภาพเหล่านี้โดยทำการรื้อลานประทักษิณออกและทำการถ่ายภาพ ภาพสลัก” ทั้งหมดแล้วนำมาประกอบไว้ดังเดิมที่ปัจจุบันมีการเปิดแสดง ให้เห็นภาพสลักประมาณ ๒-๓ ภาพ ตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะภาพสลักทั้ง ๑๖๐ ภาพนี้ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็น วิถีชีวิตของชาวชวา” ใน พุทธศตวรรษที่ ๑๔” ได้เป็นอย่างดีและผนังด้านในของของระเบียงชั้นที่๑มีความสูง ๓.๖๖ เมตร ประดับตกแต่งด้วยภาพสลักแนวละ ๑๒๐ ภาพ” และระหว่างภาพจะมีลายก้านขดคั่นส่วนภาพแนวบนแสดงเรื่องราวของ พระพุทธประวัติ” ฝ่ายมหายานตาม คัมภีร์ลลิตวิสูตร” หรือ คัมภีร์ปฐมสมโพธิฝ่ายมหายาน” นับตั้งแต่การ เสด็จประสูติบำเพ็ญบารมี” ไปจนถึงการแสดง ปฐมเทศนาธัมม จักกัปปวัตนสูตร” ส่วนภาพด้านล่างสลักภาพอธิบายเรื่องราวของ ชาดก” และ นิยายอวตาน
ทางด้านผนังด้านนอกของระเบียงชั้นที่ ๑ ของบุโรพุทโธนั้น เมื่อแก้ไขให้สูงขึ้นหลังจากที่มีการสร้างลานทักษิณรอบนอกแล้ว ผนังด้านในก็ยังมีการแกะสลักเป็น ภาพชาดก” อีกโดยมีแนวบนทั้งหมด ๓๗๒ ภาพ” ซึ่งเป็นการแสดงที่นำเค้าโครงเรื่องที่มาจาก ชาตกมาลา” (ชาดกมาลา) บทนิพนธ์ของท่าน อารยศูร” และภาพในแนวล่างเล่าเรื่อง ชาดก” และ อวตานอีกเช่นกันนอกจากนั้นบนยอดฐานแต่ละชั้นจะมีการก่อสลักหินเป็นซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูป” อยู่ภายในโดยในซุ้มชั้นที่ ๑ สำหรับประดิษฐาน พระมานุษิพุทธเจ้า” และซุ้มชั้นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะสลักลวดลายและประดับเพชรพลอยบนยอด โดยซุ้มที่อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเป็นซุ้มสัญลักษณ์ของ พระธยานิพุทธเจ้า” โดยใช้รูปสถูปเจดีย์จำลองเป็นสัญลักษณ์แทนและอยู่สูงขึ้นไป
และในระเบียงชั้นที่ ๒ ด้านในของผนังชั้นนอกของบุโรพุทโธอาจจะมีการสลักเรื่องชาดก” ต่อแต่ยังไม่แล้วเสร็จส่วนผนังชั้นในสลักภาพสลักจำนวน ๑๒๘ ภาพ” และเล่าเรื่องราวตาม คัมภีร์คัณฑพยุหะ” ซึ่งเป็นชาดกที่เล่าเรื่องราว พระสุธนกับนางมโนราห์” ตอนที่พระสุธน” ไปท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ที่ในตอนแรกได้พบกับ พระโพธิสัตว์มัญชูศรี” ก่อนแล้วจึงท่องเที่ยวหาความรู้ต่อไปแต่ในที่สุดก็ย้อนกลับมาหา พระโพธิสัตว์มัญชูศรี” อีกครั้งและระเบียงชั้นที่ ๓” ทั้งผนัง ชั้นนอกและชั้นในสลักเล่าเรื่องราวประวัติ พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” ถึงในอนาคตหลังจากที่ พุทธันดร ที่ ๔” (พุทธันดรในปัจจุบัน) สิ้นสุดลง พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย” ก็จะเสด็จมาตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า” ทรงพระนามว่า พระเมตไตรยพุทธเจ้า” ซึ่งก็คือ พระอนาคตพุทธเจ้า” นั่นเอง โดยรอบ ๆ ของ บุโรพุทโธ” ตามฐานระเบียงชั้นต่าง ๆ มีการสลักภาพรวมแล้วได้ประมาณ ,๓๐๐ภาพ” มีความยาวต่อกันเกือบ ๔ กิโลเมตร
ทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธ เป็นประตูทางขึ้นหลักที่สำคัญของบุโรพุทโธที่ปรากฏสิงห์ทวารบาล” สลักด้วยศิลาตั้งอยู่ภายนอกทางขึ้นทั้งสองข้าง ส่วนประตูทางขึ้นของแต่ละทิศที่สามารถเดินผ่านตรงไปยังลานชั้นบนได้ประกอบด้วย ลายหน้าบาล” และ ภมร” ในแต่ละชั้นจะมีท่อระบายน้ำโดยชั้นล่างจะสลักหินเป็น รูปกุมาร” มีคนแคระแบกรับไว้และชั้นบนสลักเป็น รูปหน้ากาล” โดยลายหน้ากาลนี้จัดเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ ศิลปะชวา” ที่มีความหมายว่า กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง ดังนั้นสัปปุรุษทั้งหลายพึงไม่ประมาท” จึงจัดเป็น พุทธปรัชญามหายาน” ได้เป็นอย่างดี

 

                สุราบายา
เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ อยู่บนเกาะชวา ประชากรประมาณ 2.5 ล้านคน ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญคือ หินชอล์ก ทำให้จังหวัดนี้มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อีกทั้งยังมีหินอ่อน น้ำมัน และเกลือ มีสนามบินนานาชาติคือ Juanda Airport และท่าเรือ Tanjung Perak
เมืองสุราบายา เป็นเมืองที่มีความสำคัญสูงสุด ของจังหวัดชวาตะวันออก คู่กับเมือง จาร์กาต้า เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของเกาะชวา มีเนื้อที่ 331 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 33 เขต 163 แขวง
สุราบายาได้ชื่อว่าเมืองแห่งวีระชน เนื่องจากในอดีตชาวสุราบายา ได้ต่อสู้ต่อข้าศึกปกป้องแผ่นดินมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสู้รบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
สุราบายาประกอบด้วย คนหลายเชื้อชาติ ทั้งคนพื้นเมือง คนจีน และฝรั่ง ทำให้มีหลากหลายศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในสุราบายาประมาณ 2.6 ล้านคน และเพิ่มเป็น 3 ล้านคนในช่วงกลางวัน เพราะมีคนจากชนบทและเมืองใกล้เคียงเข้ามาทำธุระในสุราบายา
สุราบายา เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอินโดนีเซีย และเป็นท่าเรือที่สำคัญของชวาตะวันออก มีชาวจีนอาศัยอยู่หนึ่งในสี่ส่วน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองมีวัด Hok Teck Hian อายุ 300 ปี ตั้งอยู่ที่ Jalan Dukuh ภายในวัดมีศาลเจ้าเล็กๆ บนชั้นสอง มีพระพุทธรูป,รูปจำลองของลัทธิขงจื้อ และรูปจำลองของศาสนาฮินดูประดิษฐานอยู่


 

                ยอกยาการ์ตา 
ยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) อยู่บนเกาะชวา เป็นศูนย์กลางทั้งด้านศิลปะ และวัฒนธรรม นอกจากนั้นยอกยาการ์ตา ยังเป็นที่ตั้งของบุโรพุทโธ (Borobudur)
ยอกยาการ์ตา หรือเรียกสั้นๆ ว่า ย็อกยา เป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมชวา ตั้งอยู่บริเวณเชิงภูเขาไฟ Merapi แต่ก่อนย็อกยาการ์ต้าเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิมหารามของชาวชวาในศตวรรษที่ 16 - 17 ที่แห่งนี้มีบ้านเรือนตั้งอยู่อย่างหนาแน่นและมีผู้คนอาศัยอยู่มากมาย ด้วยศิลปะประเพณีอันสวยงามของย็อกยาการ์ต้า จึงเป็นที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมเมืองย็อกยาการ์ตาแห่งนี้


 

                วิหารปรัมบานัม
วิหารปรัมบานัน (Prambanan) หรือวัดปรัมบานัน หรือจันทิปรัมบานัน (Candi :ปราสาทหรือเทวาลัย) ที่ความสำคัญและความยิ่งใหญ่ที่ดูน่าอัศจรรย์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ามหาเจดีย์บุโรพุทโธ
วิหารปรัมบานัน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปรัมบานัน เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยชวาภาคกลาง ราว ค.ศ.ที่ 10 โดยพระเจ้าบาลีตุง แต่จากหนังสือประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ ดี จี ฮอลล์ กล่าวว่า ผู้สร้างปรัมบานันน่าจะเป็นพระเจ้าทักษากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งสมัยชวาภาคกลาง ส่วนเหตุที่สร้างนั้นสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างทั้งหมดในเทวาลัยแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นสุสานบรรจุพระศพของกษัตริย์และสมาชิกในพระราชวงศ์ ปรัมบานันก็ถูกละทิ้งและเสื่อมลงในเวลาต่อมาจนมาในยุคปัจจุบันปรัมบานันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกใน ปี ค.ศ. 1991
                ปี ค.ศ. 2006 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่บนเกาะชวา สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับปรัมบานัน อาคารหลายแห่งโดยเฉพาะเทวาลัยขนาดเล็กที่อยู่รายรอบนั้นพังทลายเสียหายหนักจนต้องปิดซ่อมแซมไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม แต่ว่าปัจจุบันวิหารปรัมบานันเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้อีกครั้ง
ปรัมบานันมีชื่อเรียกขาน (ภาษาถิ่น) อีกอย่างหนึ่งว่า "โลโรจงกรัง" มีที่มาจากตำนานพื้นบ้าน ที่ว่ากันว่าโลโรกรังเป็นเจ้าหญิงแสนงาม (โลโรจงกรังภาษาถิ่นหมายถึงสาวร่างอรชร) จึงมียักษ์มาขอแต่งงานเจ้าหญิงไม่กล้าปฏิเสธ แต่ทรงขอให้ยักษ์สร้างจันทิให้ได้ 1 พันหลังถึงจะแต่งงานด้วย ยักษ์จึงใช้เวทมนตร์สร้างจันทิจนเกือบจะเสร็จสิ้น ส่วนเจ้าหญิงก็ใช้เวทมนตร์ทำลายจันทิเหล่านั้น เพราะไม่ต้องการแต่งงานด้วย ทำให้ยักษ์โกรธจึงสาปเจ้าหญิงให้กลายเป็นหิน แล้วนำรูปมาทำประติมากรรมประดิษฐานอยู่ในปรัมบานันแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกขานกันว่า "รูปโลโรจงกรัง"
สำหรับความยิ่งใหญ่ของจันทิปรัมบานันนั้นแรกที่ประสบพบเจอก็ทำเอาผมถึงกับอึ้ง ตะลึงงันแล้ว เพราะมันช่างดูอลงการดีแท้ แม้เหล่าจันทิเล็กๆ รอบนอกจันทิหลักที่สร้างเรียงเป็น 4 แถวจำนวน 224 หลังส่วนใหญ่จะถูกผลกระทบของแผ่นดินไหวจนพังทลายเหลือแต่ซาก แต่ว่าก็ยังทิ้งร่องรอยความยิ่งใหญ่ไว้ให้เห็น ถ้าหากยูเนสโกบูรณะซากจันทิเหล่านั้นขึ้นมาได้ ปรัมบานันก็คงจะกลับมายิ่งใหญ่อลังการอีกครั้ง ไม่แพ้บุโรพุทโธ
ถัดจากจันทิเล็กเข้าไปก็เป็นเขตจันทิหลักที่มีกำแพงสี่เหลี่ยมมีประตูทางเข้าทั้ง 4 ทิศ ล้อมรอบ ภายในกำแพงโดดเด่นไปด้วยจันทิขนาดใหญ่ 3 หลัง ที่ล้วนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เชื่อกันว่า จันทิองค์กลางที่ใหญ่ที่สุดเด่นที่สุดและสูงที่สุดถึง 47 เมตรนั้นสร้างถวายแด่พระอิศวร มีห้องกลางประดิษฐานรูปพระอิศวร และห้องเล็กๆ ทางทิศตะวันตกประดิษฐานรูปพระคเนศวร ทางห้องทิศใต้ประดิษฐานรูปพระอิศวรปางมหาโยคี ในห้องทิศเหนือประดิษฐานรูปนางทุรคา ซึ่งคนพื้นถิ่นเชื่อว่านี่น่าจะเป็นรูปโลโรจงกรัง สวนจันทิฝั่งทิศเหนือสร้างแด่พระนารายณ์ และฝั่งทิศใต้สร้างแด่พระพรหม
ในขณะที่ฝั่งตรงข้ามจันทิพระอิศวรเป็นจันทิขนาดย่อม สันนิษฐานว่าเป็นจันทิพาหนะทรงของเทพทั้ง 3 คือโคนนที(พระศิว) หงส์(พระพรหม) และครุฑ (พระนารายณ์) แต่ปัจจุบันเหลือเพียงโคนนทีเท่านั้น
อนึ่งเหล่าจันทิหลักในเขตกำแพงนั้นจะมีรูปทรงคล้ายกัน มีเจดีย์ทรงกลีบมะเฟืองอิทธิพลศิลปะอินเดีย เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ จันทิบางหลังสามารถขึ้นไปชมภายในและภาพสลักรอบข้างได้ แต่บางหลังก็ขึ้นไม่ได้เพราะอยู่ช่วงการบูรณะ
แต่ก็สามารถเดินชมลวดลายสลักต่างๆ จำนวนมาก ได้โดยรอบ ซึ่งลวดลายส่วนใหญ่จะสลักเป็นเรื่องราวรามายณะ วิถีพื้นบ้าน เทพ เทพี โยคี ฤาษี และสัตว์ในเทพนิยายของฮินดู
               นอกจากนี้ปรัมบานันก็ยังมีลวดลายที่เป็นแบบฉบับของ ปรัมบานันโดยเฉพาะ อาทิ ซุ้มรูปสิงห์ที่มีต้นกัลปพฤกษ์อยู่ทั้ง 2 ข้าง และมีรูปกินนรนั่งอยู่ 2 ข้างของต้นกัลปพฤกษ์แต่ละต้น รูปต้นกัลปพฤกษ์มีนกอยู่ 2 ข้างรูปยักษ์จมูกโตหน้าคล้ายคน รูปหน้ากาลหัวมังกร เป็นต้น


 

                จาการ์ตา
จาการ์ตาเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ มีโบสถ์และอาคารเก่าเป็นจำนวนมากที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันยาวนาน นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์แห่งชาติของอินโดนีเซีย พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จาการ์ตา พิพิธภัณฑ์หุ่นเชิด ฯลฯ
               นอกจากนี้จาการ์ตายังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น อนุสรณ์สถานแห่งชาติ (National Monument) และ Wisma 46 ณ ใจกลางกรุงจาการ์ตา
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบางส่วนได้แก่ Taman Mini Indonesia Indah, สวนสัตว์ Ragunan,เมืองเก่าในจาการ์ตา และ Taman Impian Jaya Ancol แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่ง ซึ่งประกอบไปด้วย Dunia Fantasi, Sea World และ Police Academy Show


              อนุสาวรีย์แห่งชาติโมนัส Monas
ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของจาการ์ตา อนุสาวรีย์ความสูง 137 เมตรแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลาง Merdeka หรือจัตุรัสแห่งเสรีภาพ คุณสามารถชมทิวทัศน์รอบเมืองได้จากหอสังเกตการณ์ด้านบน บริเวณชั้นใต้ดิน คุณจะได้พบกับประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากมายของอินโดนีเซีย


 

                วัดพรัมบานัน : Prambanan Temple
วัดพรัมบานัน : Prambanan Temple ประเทศอินโดนีเซีย
วัดพรัมบานัน : Prambanan Temple พรัมบานันเป็นวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซียหรือจะเรียกว่าใหญ่ที่สุดในเอเซียอาคเนย์เลยก็ได้ ตั้งอยู่ที่เมืองพรัมบานันตอนกลางของเกาะชวา และอยู่ไม่ไกลจากยอกยากาตาร์มากนัก วัดถูกสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1340 โดยสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ Rakai Pikatan จากราชวงศ์ Mataram ที่ 2 หรืออาจะสร้างในสมัยกษัตริย์ Balitung Maha Samba จากราชวงศ์ Sanjaya ได้รับความเสียหายมากในช่วงปี 2006 เพราะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่นี่ จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) จึงได้มีการเริ่มบูรณะวัดขึ้นมา การบูรณะของสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)
ในปัจจุบัน พรัมบานันถูกยกย่องให้เป็นมรดกโลกและนับได้ว่าเป็นหนึ่งในศาสนสถานในศาสนา ฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ตัววัดโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมและความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งมีความสูงถึง 47 เมตร
                ปราสาทหินพรัมบานันได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ "กลุ่มวัดพรัมบานัน" เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
- เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาด ของมนุษย์
- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ



ที่มา
http://www.topasiantravel.com/

No comments:

Post a Comment